วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในยุโรป

 พระราชวังทอปกาปิ ( Topkapi Palace ) : ประเทศตุรกี

        “ตุรกี” ประเทศสองทวีป มีดินแดนอยู่ทางยุโรปตอนใต้และตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปเอเชียหรือเรียกว่า “เอเชียไมเนอร์” เคยเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ “จักรวรรดิออตโตมัน” ตั้งอยู่ระหว่างทะเลดาและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

           เป็นที่ประทับของสุลต่านนานกว่า 3 ศตวรรษ สร้างโดยสุลต่านเมห์เม็ตที่ 2 หรือ สุลต่านเมห์เหม็ดผู้พิชิต'(MEHMET THE CONQUEROR) แห่งอาณาจักรออตโตมัน เมื่อปี ค.ศ. 1478 พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังทอกาปิขึ้นบนจุดที่สามารถเห็นช่องแคบบอสฟอรัส โกลเด้นฮอร์น และทะเลมาณืมาราได้อย่างชัดเจน ในสมัยสุลต่านสุไลมาน ได้มีการต่อเติมพระราชวังแห่งนี้โดย ซีนาน” (Sinan) สถาปนิกนามอุโฆษแห่งตุรกี อันเป็นที่มาของงานสถาปัตยกรรมแบบ ออตโตมันคลาสสิกจำนวนมาก
พระราชวังทอปกาปิ ในอดีตเป็นที่ประทับของสุลต่านแห่งราชวงศ์ออตโตมันหลายพระองค์ เมื่อจักรพรรดิมาห์มุที่ 2 (ค.ศ.1808-1839) สิ้นพระชนม์ลง นับเป็นสุลต่านองค์สุดท้ายที่ทรงประทับอยู่ที่นี่ เพราะหลังจากนั้นสุลต่านทุกองค์ก็นิยมที่จะประทับอยู่ที่พระราชวังสไตล์ ยุโรปที่โดลมาบาชเช่ด้วยกันทั้งสิ้น
• 
ในอดีตพระราชวังทอปกาปีเคยเป็นสถานที่ฝึกขุนนางทหารรับใช้ของสุลต่านชาวตุรกี ซึ่งคัดเลือกเด็ก ๆ คริสเตียน(พวกนอกศาสนา)มาสอนให้เป็นเติร์กและนับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาเมื่อขุนทหารเหล่านี้ออกมารับราชการเป็นใหญ่เป็นโตในวังก็กลายเป็นหอก ข้างแคร่ และในบางยุคก็ร่วมก่อการปฏิวัติรัฐประหารเลยด้วยซ้ำ ในที่สุดสุลต่าน 'มาห์มุทที่ 3' ก็ตัดสินใจยุบระบบขุนนางทหารรับใช้ซึ่งยืนยงมากว่า 350 ปีนี้ลง และปฏิรูประบบการจัดการทหารในประเทศเสียใหม่ โดยการนำการจัดทัพแบบยุโรปมาใช้
• 
ปัจจุบันพระราชวังทอปกาปี กลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเมื่อปี ค.ศ. 1924 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ พระราชวังชั้นนอก, พระราชวังชั้นใน และฮาเร็ม ในอดีตภายในพระราชวังนี้จะมีข้าราชบริพารทำงานกันอยู่ประมาณ 5 พันคน จึงมีสภาพคล้ายตัวเมืองที่ซับซ้อนอยู่ในตัวเมืองอีกชั้นหนึ่ง ตัวพระราชวังนั้นได้รับการตกแต่งอย่างวิจิตรในยุคที่จักรวรรดิออตโตมาน รุ่งเรืองถึงขีดสุด
• 
โดยพื้นที่จัดแสดงออกเป็นหลายส่วนด้วยกัน อาทิ ส่วนโรงครัว มีเครื่องครัวโบราณมากมาย ทั้งที่เป้นเครื่องปั้นดินเผา เครื่องกระเบื้อง เครื่องโลหะ ฯลฯ รวมไปถึงภาพวาดเกี่ยวกับการทำอาหารสมัยโบราณ
• 
ห้องท้องพระคลัง ซึ่งเป็นห้องที่โด่งดังและเป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวอย่างมากก็คือ ห้องท้องพระคลังอันเป็นที่เก็บสมบัติและวัตถุล้ำค่ามากมาย ในขณะที่บริเวณระเบียงหลังห้องท้องพระคลังเป็นจุดชมวิวชั้นดี ที่มองออกไปเห็นทิวทัศน์เมืองอิสตันบูลใน 2 ฝั่งทวีป คือฝั่งยุโรปและฝั่งเอเชีย ได้อย่างชัดเจน ซึ่งแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 3 ห้องคือ
• 
ห้องแรก เก็บพวกเสื้อผ้าชุดโบราณของกษัตริย์อันสวยงาม เก็บอาวุธโบราณต่างๆ ที่ไม่ใช่อาวุธแบบยุคหิน แต่เป็นอาวุธแบบอาหรับที่มากไปด้วยความสวยงามและมีสีสันยิ่งนัก
• 
ห้องที่สอง เก็บพวกเครื่องประดับ สร้อย กำไล ต่างหู และเพชรนิลจินดามากมาย และที่สำคัญที่สุดคือ กริชแห่งทอปกาปิ” (Topkapi Dagger) โบราณวัตถุชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่งแห่งตุรกี ด้ามกริชประดับด้วยมรกตน้ำงาม ฝักทำด้วยทองคำประดับเพชร ตรงกลางฝังอัญมณีและไข่มุกทำเป็นรูปกระเช้าดอกไม้




• 
กริชแห่งทอปกาปิ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 18 เพื่อเป็นของกำนัลแก่อาณาจักรออตโตมัน โดยต้องการจะมอบให้กับนาดีร์ชาร์ แห่งเปอร์เซีย แต่ว่านาดี ซาร์ ถูกโค่นอำนาจลงเสียก่อนที่จะได้ครอบครองกริชเล่มนี้ ซึ่งปัจจุบันถือเป็นพระเอกของพระราชวังแห่งนี้ทีเดียว

ห้องที่สาม จัดแสดงเครื่องประดับ เพชรพลอยมากมาย ที่น่าสนใจสำหรับคนไทย คือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพอัญเชิญมาถวายแก่สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ในการเสด็จฯ เจริญสัมพันธไมตรีระหว่างไทย-ตุรกี เมื่อปี ค.ศ. 1891
• 
สิ่งที่น่าสนใจในห้องจัดแสดงที่ 3 คือ เพชรของช่างทำช้อน” (The Spoon Maker’s Diamond) ที่เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งพระราชวังทอปกาปิ เพชรของช่างทำช้อนมีขนาด 86 กะรัต เจียระไนเป็นรูปกุหลาบ 49 เหลี่ยม มีตำนานเกี่ยวกับ เพชรของช่างทำช้อนว่า เพชรเม็ดนี้ นายทหารฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ปิโกต์ (Pigot) ซื้อมาจากเจ้าเมืองรัฐปัญจาบในอินเดีย เมื่อปี ค.ศ. 1774 แล้วนำกลับสู่ฝรั่งเศส ก่อนจะเปลี่ยนมือผู้ครอบครองไปเรื่อยๆ จนในที่สุดมาตกอยู่ในการครอบครองของพระมารดาพระเจ้านโปเลียน โบนาปาร์ต กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งฝรั่งเศส พระนางได้ขายเพชรให้แก่นายพลเทเปเดเลนลิ อาลี (Tepedelenli Ali Pasha) แห่งอาณาจักรออตโตมัน แต่หลังจากนั้น นายพลท่านนี้กลับต้องโทษประหารในปี ค.ศ. 1840 โคตรเพชรเม็ดนี้จึงถูกริบให้เป็นสมบัติของราชสำนักออตโตมันไปโดยปริยาย






ลักษณะทางศิลปะและสถาปัตยกรรม

     รูปสถาปัตยกรรมแบบออตโตมันคลาสสิก

ข้อแนะนำต่างๆ
       กรุงอังการา มีเมืองอิสตันบูลเป็นเมืองพาณิชย์ มีประชากร 67.4 ล้านคน ร้อยละ 99 นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษาตุรกีเป็นภาษาราชการ รวมทั้งการใช้ภาษาเคิร์ด อาราบิค เยอรมัน และอังกฤษ
สกุลเงิน เตอร์กีชลีราใหม่ (YTL) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์

สหรัฐ = 1.4 เตอร์กีชลีรา หรือเงินไทย 1 เตอร์กีชลีรา = 25.25

บาท

บัตรเครดิตและเอทีเอ็ม ใช้ได้ทั่วไปตามร้านค้า โรงแรม

ภัตตาคาร

เวลา ช้ากว่าประเทศไทย ฤดูร้อน 4 ชั่วโมง ฤดูหนาว 5 ชั่วโมง

เสื้อผ้า ไปหน้าร้อน เบาๆ บางๆ สวมสบายผ้าฝ้ายก็ดี หรือสวมเสื้อ

ผ้าให้เหมาะสมกับฤดูและภูมิภาคที่จะเดินทางไป อย่าลืม หมวกกัน

แดด แว่นตากันแดด และผ้าคลุมศีรษะ เวลาเข้าไปเที่ยวในมัสยิด

การเข้าเมือง ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยต้องขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูตตุรกีที่กรุงเทพฯ ก่อนที่จะเดินทางและสามารถพานักอยู่ที่ประเทศตุรกีได้ไม่เกิน 90 วัน สำหรับนักเรียนหรือผู้ที่มาทางานขอวีซ่าเพื่อยู่ที่ประเทศตุรกีได้ครั้งละ 1 ปี
ส่วนผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการไม่ต้องขอวีซ่า จะอยู่ได้ไม่เกิน 90 วัน
มาตุรกีถ้าได้มาเที่ยวอิสตันบูล ชาวเมืองที่นี่จะมีความรื่นเริงสนุกสนาน แต่งกายแนวตะวันตกมากกว่าชุดคลุมหน้าปิดจมูกในแบบที่แต่งกันในกลุ่มประเทศอาหรับ
โทรศัพท์สำคัญ ตำรวจ 155 เหตุฉุกเฉิน 112 เพลิงไหม้ 110 สอบถามหมายเลขโทรศัพท์ 118


ที่พัก
   สามารถเข้าพักที่โรงแรม ในอิสตันบูล ที่มีมากกว่า 749 โรงแรม


สินค้าขึ้นชื่อของตุรกี

            พรม   ซึ่งมีสองแบบตามลักษณะความยาวของเส้นใยที่ใช้ทอ คือฮาลื่อและคิลิม ฮาลื่อเป็นพรมแบบทั่วไปที่เห็นกัน วัสดุที่ใช้ทอมีทั้งขนสัตว์ฝ้าย ไหม เมื่อผูกปมแล้วจะตัดเส้นใยออก ด้านหนึ่งจึงปุยขึ้นเป็นลายตามที่ช่างต้องการ ส่วนคิลิมใช้วัสดุเหมือนกัน แต่ทอโดยไม่ตัดด้ายพรมจึงมีลายเหมือนกันสองด้านราคาของคิลิมมักย่อมเยากว่าพรมราคาแพงมักทอด้วยขนสัตว์หรือไหม พรมที่มีชื่อเสียง มาจากเมืองเฮเรเค
อาหารตุรกี
  อาหารตุรกี ส่วนประกอบด้วย ผักสด เนื้อวัว เนื้อแกะ  อาหารทะเล แป้ง
ชิช เคิฟเด    เคิฟเต
แปลว่า เนื้อปั้น ชิช เคิฟเด มีส่วนผสมของเนื้อวัวหัวหอม ขนมปังบด ไข่ เกลือ และพริกไทย เสียบไม้แล้วทอด
ดอนแนร์  เคบับ   เคบับ แปลว่าปั้งหรือย่าง  ดอนแนร์ เคบับ เป็นเนื้อแกะและกับเนื้อวัวแล่เป้นชิ้นบาง แล้วนำมาเสียบทับกันจนเป็นก้อนสูงด้วยไม้หรือเหล็ก มักโชว์อยู่หน้าร้านโดยมีเตาให้ความร้อนด้านหนึ่งไม้ที่เลียบจะหมุนตลอดเวลาเพื่อให้เนื้อสุกเท่ากันทุกด้าน
ดอล์มา   เป็นอาหารยัดไส้ มีสองชนิด คือร้อนกับเย็น โดยของร้อนเป็นอาหารหลัก ส่วนของเย็นเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย ไส้ของร้อนเป็นส่วนผสมของเนื้อวัวบด หัวหอมหั่นละเอียด ข้าว เกลือ และหรือพริกไทยบรรจุเป็นไส้ในมะเขือเทศ พริกหยวก มะเขือยาวหรือใบองุ่นส่วนไส้ของเย็นเป็นข้าว ลูกสน องุ่นจิ๋ว สะระแหน่แห้งบดแล้วผัดในน้ำมันมะกอก บรรจุเป็นไส้ไส่ในพริกหยวก ใบองุ่น ใบคะน้าหรือใบกะหล่ำปลี
ราคื่อ
 เหล้าองุ่นประจำชาติ เนื้อสุราใสแจ๋ว เวลาดื่มจะผสมน้ำเท่าหนึ่งเมื่อ
ผสมน้ำแล้วเหล้าจะขุ่น




สิ่งของที่ห้ามนำเข้า

      ยาเสพติด ไข่ของหม่อนไหม ดินและพืชพันธุ์เพื่อการเกษตรเครื่องเล่มเกมส์ต่าง ๆ วัสดุที่ห่อหรือปิดป้ายปลอม ฯลฯ

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

ตำนานเทพ ฮาเดส (Hades)




เทพฮาเดส (Hades)

              
                ในตำนานกรีกโบราณเทพที่เทพผู้เป็นใหญ่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน อีกองค์หนึ่งก็คือ ฮาเดส (หรือชาวโรมัน เรียกว่า พลูโต)แดนบาดาลหรือยมโลกและคนตายต่างก็อยู่ในความปกครองของเทพองค์นี้ทั้งหมด คำว่า"พลูโต"นี้มีความหมายว่า เทพแห่งทรัพย์ เพราะถือกันว่า นอกจากยมโลกแลัว ท้าวเธอฮาเดสยังครองมวลธาตุล้ำค่าใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชือว่า ดีส (Dis) แปล ตรงตัวว่า ทรัพย์ (บางแห่งกล่าวว่า ฮาเดสครองยมโลกและคนตายเท่านั้น ส่วนเทพผู้ครองความตายนั้นมี อีกองค์หนึ่ง เรียกว่า แธนาทอส (Thanatos)ในภาษากรีก หรือ ออร์คัส (Orcus) ในภาษาลาตินเป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hypnos) เทพประจำความนิทรา แม้ว่าเทพฮาเดสอยู่ในเหล่าเทพแห่งเขาโอลิมปัส แต่เธอก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลก ขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสเท่าไหร่นัก เธอเองก็ไม่ใช่แขกที่ใครๆยินดีต้อนรับ เพราะแม้แต่เทพเจ้าด้วยกันเองยังกลัว เนื่องจาก เธอปราศจากความเวทนาสงสาร แต่กอปรด้วย ความยุติธรรม เธอมีหมวกวิเศษใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมหายตัวได้



                 ภายในยมโลกนั้น ชาวกรีกในสมัยโบราณเชื่อว่า ดวงวิญญาณของคนทุกคุณ เมื่อสิ้นชีวิตแล้วจะถูกพาไป รับคำพิพากษาของคณะเทพสุภาในยมโลก ซึ่งอยู่ในชั้นบาดาลใต้พื้นพิภพ เป็นอาณาจักรอยู่ในความปกครอง ของเทพฮาเดส การพาดวงวิญญาณคนตายลงไปยังบาดาลเป็นหน้าที่ของเฮอร์มิส เทพพนักงานสื่อสาร ของซูส ซึ่งตำแหน่งของยมโลกนี้ บ้างก็ว่าอยู่ใต้สถานที่เร้นลับของโลก บ้างก็ว่าทางลงอยู่ที่ขอบพิภพโดยข้าม มหาสมุทรไป ส่วนกวีในขั้นหลังๆจึงบอกว่าทางลงมีหลายทางนั้นเอง ซึ่งทางลงนั้นนำไปถึงแม่น้ำแห่งความ วิปโยค ชื่อว่า แอกเคอรอน (Acheron) แม่น้ำนี้ไหลไปสู่แม่น้ำอีกสายหนึ่งเรียกว่าแม่น้ำแห่งความ กำสรวลชื่อ โคไซทัส (Cocytus) ตรงที่แม่น้ำทั้งสองสายนี้บรรจบกัน มีคนเรือจ้างแก่ ๆ คนหนึ่งชื่อว่า เครอน (Charon) คอยรับ วิญญาณข้ามฟากไปสู่ยังประตูแข็งแกร่งดังเหล็กเพชร ซึ่งเป็นทางเข้าตรุลึกลง ไปเรียกว่า ทาร์ทะรัส (Tartarus) ส่วนเขตชั้นนอกที่ผ่านมาแล้วเรียกว่า เออรีบัส (Erebus) เครอน จะรับลงเรือแต่เฉพาะดวงวิญญาณที่มีเงิน เบิกทางติดปากไปและได้ผ่านพิธีฝังเรียบร้อยแล้วเท่านั้น อันนี้เห็นจะเป็นเหตุของชาวกรีกสำหรับประเพณีเอา เงินใส่ปากคนตาย ฝัง ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังทำตามๆกันอยู่หลายชาติ



               

       ที่หน้าประตูทางเข้าตรุทาร์ทะรัส มีสุนัขเฝ้าตัวหนึ่งเรียกว่า เซอร์บิรัส (Cerberus) มีหัวสามหัว หางเป็นหางมังกร มันจะยอมให้วิญญาณของคนทุกคนเข้าประตู แต่จะไม่ยอมให้กลับออกมาเป็นอันขาด เมื่อไปถึงประตูนี้ วิญญาณแต่ละดวงจะถูก พาไปรับคำพิพากษาของสามเทพสุภา คือ แรดดะแมนธัส ,ไมนอส และ อือคัส วิญญาณที่ชั่วร้ายจะถูกพิพากษาให้ต้องทน ทุกข์ทรมานอยู่ในตรุทาร์ทะรัสไปชั่วกัลป์ ส่วนวิญญาณที่ดีจะได้รับคำพิพากษาให้พาไปอยู่ยังทุ่งอีลิเซียน แดนสุขาวดีของกรีกที่ เคยกล่าวถึงมาแล้ว

               นอกจากแม่น้ำแอกเคอรอนกับโคไซทัสที่เอ่ยถึง ยังมีแม่น้ำอื่นอีกสามสายคั่นบาดาลไว้ต่างหากจาก พิภพเบื้องบน สายหนึ่งมีชื่อว่า เฟลจีธอน (Phlegethon) เป็นแม่น้ำไฟ สายที่สองชื่อ สติกส์ ( Styx ) เป็นแม่น้ำสาบานของเทพทั้งปวง สายที่สามชื่อ ลีธี (Lethe) แม่น้ำแห่งความลืม หรือแม่น้ำล้างความทรง จำ สำหรับให้ดวงวิญญาณ ในตรุทาร์ทะรัสดื่มเพื่อล้างความจำในชาติก่อนให้หมด

                อนึ่ง นอกจากคณะเทพสุภาแห่งยมโลก ยังมีคณะเทวีทัณฑกรอีกคณะหนึ่งประจำอยู่ในยมโลกเช่น กัน เรียกว่า อิรินนีอิส (Erinyes) ทำหน้าที่ลงทัณฑ์แก่ดวง วิญญาณของผู้ประพฤติผิดทำนองคลองธรรมใน มนุษย์โลก ในชั้นเดิมเทวีทัณฑกรคณะนี้มีหลายองค์แต่ในที่สุดมีเหลือที่กล่าวนามเพียงสาม คือ ไทสิโฟนี (Tisiphone) มีจีรา (Megaera)และ อเล็กโต (Alecto)แต่ละองค์มีรูปลักษณะดุร้ายน่ากลัว มีงูพัน เศียรยั้วเยี้ย ใครๆที่ทำบาปกรรมไว้ในโลกมนุษย์ จะหนีทัณฑกรรมที่เทวีทั้งสามพึง ลงเอาไม่พ้นไปได้เลย คำ อังกฤษเรียกเทวีทั้งสามนี้โดยรวมๆกันไปว่า The Furies

                เนื่องด้วยอุปนิสัยของเทพฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ออกจะเย็นชาแข็งกร้าว ปราศจากความเวทนาสงสารให้แก่ผู้ใด แต่เต็มไปด้วยความยุติธรรมทุกขณะ เช่นนี้ จึง เป็นเหตุให้ ท้าวเธอยากจะหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ปรโลกคู่กันได้เลย ดังนั้น เมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นพิภพในวันหนึ่ง และประสบพบพานโฉมงามนาม เพอร์เซโฟนี (Persephone) ธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์ เข้าให้ ฮาเดสลืมเลือนไปหมดสิ้นว่า อนงค์นางนี้ที่แท้จริงคือหลานในไส้ของตน เพราะว่า ดีมิเตอร์เทวีเป็นน้องนางของพระองค์นั่นเอง จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงไม่รอช้า ฉุดคร่าเอาตัวเพอร์เซโฟนีลงไปสู่ดินแดนใต้พิภพ เพื่อครองคู่เป็นราชินีปรโลกด้วยความมิเต็ม ใจของนาง




            
               ครั้นเมื่อซูสเทพบดีทรงตัดสินความให้เทพฮาเดสส่งเพอร์เซโฟนีคืนแก่พระมารดา ฮาเดสก็ใช้เล่ห์ เพทุบายลวงให้นางต้องมาหาท้าวเธอปึละ 3 เดือนทุกปีไป ดังนั้นในปึหนึ่ง ๆ ฮาเสจึงเป็นเทพพ่อม่ายอยู่ถึง 9 เดือน มี เวลาได้ร่วมเขนยกับมิ่งมเหสีเพียงปีละ 3 เดือน เท่านั้น
แต่ทั้งที่ต้องประทับอยู่อย่างเดียวดายนานถึงปึละ 9 เดือน เทพฮาเดสก็พิสูจน์องค์เองว่าเป็นสวามีที่ซื่อสัตย์พอสมควร ตลอดเรื่องราวประวัติของท้าวเธอ ปรากฏว่าฮาเดสมีเรื่องนอกใจชายาเพียง 2 ครั้งเท่านั้น
ครั้งหนึ่งได้แก่ ทรงหลงเสน่ห์ความน่ารักของนางอัปสรนามว่า มินธี (Minthe) แต่ทว่าความรักนี้มิยั่งยืน ด้วยเหตุที่พระแม่ยายดีมิเตอร์เทวีทรงร้ายเหลือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ชอบหน้าฮาเดสเท่าใดนัก แต่เมื่อท้าวเธอทำท่าจะนอกใจ ธิดาของตนเข้าให้ เจ้าแม่ก็พิโรธโกรธเกรี้ยวจนกระทั่งไล่กระทืบมินธีนางอัปสรผู้น่าสงสารตายคาบาทของเจ้าแม่ จ้าว แดนบาดาลเวทนาสงสารนางอัปสรน้อยนั้น จึงเปลึ่ยนร่างของนางให้กลายเป็นพืชชนิดหนึ่งมีกลิ่นหอม และได้กลายเป็น พืชประจำพระองค์ตลอดมา
               
                ส่วนการนอกใจครั้งที่สองนั้นได้แก่ ทรงรักชอบพอกับนาง เลอซี (Leuce) ธิดาของอุทกเทพโอซียานุส แต่นางเลอซีมีบุญน้อย เพราะป่วยตายเสียก่อนที่จะตายด้วยมือของเจ้าแม่ดีมิเตอร์หรือเพอร์เซโฟนีเทวี หลังจากที่นาง ตายไปแล้วก็กลายร่างเป็นต้นพ็อปลาร์ขาว ซึ่งกลายเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีการลึกลับ ณ เมืองอีเลอซีส แต่ไม้ใหญ่ อันเป็นพฤกษชาติประจำองค์ของเทพฮาเดสนั้นกลับเป็นต้นสนเศร้า (Cypress) ส่วนดอกไม้ที่กำเนิดจากมินธีแล้ว ยังได้แก่ดอกขาวบริสุทธิ์ของนาร์ซิสซัส
            
              ผู้คนในสมัยโบราณจะถวายสักการะแด่เทพฮาเดสด้วยแกะดำ ทำให้กลายเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบมาที่จะบูชา ยัญแด่เทพแห่งมรณะหรือเทพแห่งความชั่วร้ายอื่น ๆ ด้วยแพะหรือแกะสีดำเช่นเดียวกัน