วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

Post-Modern

Post modern





ปัจจุบันนั้นมีการสร้างวาทกรรมหลายๆ อย่าง ให้เกิดขึ้นในสังคมเพื่อให้คนในสังคมได้คุ้นชินและซึมซับวาทกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาโดยการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือทั้งการ พยายามสร้างวัฒนธรรมที่เป็นสากล post modern จึงได้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่จะเป็นการชี้ให้เห็นถึงการครอบงำทางสังคม ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ของโลกตะวันตก

โพสต์ โมเดิร์น ก็คือการตั้งคำถามกับโมเดิร์น การที่มีคนใช้คำว่า โพสต์โมเดิร์นคุณประโยชน์ที่สำคัญก็คือ มันทำให้เราสามารถหวนกลับไปมองสังคมโมเดิร์นหรือพฤติกรรมที่ผ่านมาของมนุษย์ หรือความคิดความเชื่อของเราอย่างเป็นอิสระมากขึ้น เพราะถ้าเราไม่บอกว่า "โพสต์" โม เดิร์น เราก็จะยังจะอยู่ในกรอบของโมเดิร์น หรือยังให้มันครอบเราอยู่ ให้เรารู้สึกว่ายังจะต้องก้าวไปข้างหน้า ไปสู่ความเจริญ ยึดถือลัทธิความก้าวหน้า ซึ่งเป็นมิติที่ควบคู่กับ civilizing mission ของตะวันตก การบอกว่าโลกเป็น โพสต์ โมเดิร์น หรือเป็นโลกหลังสมัยใหม่ ในเชิงการเมืองนอกจากจะทำให้มนุษย์สามารถมองโลกสมัยใหม่อย่างอิสระ เพื่อวิพากษ์วิจารณ์มันได้ชัดเจนมากขึ้นมองมันถนัดขึ้น ในทางความรู้ก็ทำให้หลุดพ้นจากกรอบ สมมติฐานแบบโมเดิร์น อย่างเช่น ปรัชญาความเป็นสากล ปรัชญาความก้าวหน้า หรือปรัชญาประเภทที่ต้องมีแก่นแท้ มั่นคง ถาวร เป็นอมตะ ซึ่งเอามาจากคริสต์ศาสนา เรื่องวิญญาณ เรื่องพระเจ้า หรือจากกรีกที่เรียกว่าภาวะอุดมคติ เป็นต้น เพราะฉะนั้นตัวปรัชญาโพสต์ โมเดิร์น จึงเป็นตัวปรัชญาที่แย้งกับความเป็นสากล หรือความเป็นแก่นแท้ที่ขัดแย้งไม่ได้ ล้มล้างไม่ได้ ถกเถียงไม่ได้
ปรัชญา แบบโพสต์โมเดิร์นไม่เชื่อว่า มนุษย์สามารถเข้าถึงความจริงได้โดยตรง กล่าวโดยนัยนี้ ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์นยังมีระดับจิตต่ำกว่าปรัชญาของพุทธะ ที่มีประสบการณ์โดยตรงในการเข้าถึง "ความจริงสูงสุด" พวกโพสต์โมเดิร์นเห็นว่า มนุษย์ต้องมองต้องคิดผ่านแว่นของภาษา จึงมองว่า ความจริงเป็นแค่สิ่งที่เราสร้างขึ้นโดยระบบของภาษา
ใน เมื่อพวกโพสต์โมเดิร์นมองว่า ความจริงเป็นสิ่งที่คนเราสร้างขึ้น โดยระบบภาษา โดยสำนวนโวหาร โดยการจูงใจ โดยการบิดเบือน โดยการหลอกลวงซ่อนเร้นภายใต้ความขลังของทฤษฎีหรือวาทกรรมแบบต่างๆ หรือภายใต้ระบบปรัชญาที่ซับซ้อนหรือด้วยภาพลักษณ์ที่ง่ายๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นพวกโพสต์โมเดิร์นจึงนิยมมองโลกข้างนอกทุกๆ อย่างเป็นเสมือนพื้นที่ว่างที่เราจะใส่ความคิด ความเชื่อของเราลงไปยังไงก็ได้ คือเติมตัวความหมาย (signifier) ลง ไปได้ เพราะฉะนั้นในสายตาของพวกโพสต์โมเดิร์น โลกทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของมนุษย์จึงเป็นเสมือนพื้นที่ว่างที่มีการช่วงชิงกันเติมความ หมาย ความคิดเห็นลงไป การเมืองในยุคโพสต์โมเดิร์นอย่างในยุคปัจจุบัน จึงเป็นการเมืองของการช่วงชิงพื้นที่ด้านต่างๆ
ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์น ไม่เชื่อว่ามีความจริงเพียงหนึ่งเดียวอยู่แล้ว แต่เห็นว่า "ความจริง" เป็นสิ่งที่มองได้หลายมุมมอง และควรผสมผสานมุมมองที่หลากหลายต่างๆ เข้าด้วยกัน
ปรัชญาแบบโพสต์โมเดิร์น ปฏิเสธอำนาจของกรอบ ระเบียบ โครงสร้าง รูปแบบจารีตเดิม และมุ่งแสวงหาการคิดนอกกรอบและแหวกแนวอยู่ตลอด
นัก คิดโพสต์โมเดิร์นไม่เชื่อในโลกความจริงที่อยู่นอกเหนือไปจากโลกของภาษา ซึ่งถ้าหากว่าสิ่งนอกเหนือต่าง ๆ มีอยู่จริงเขาก็ไม่สนใจที่จะต้องไปถกเถียงกัน เพราะว่าถกเถียงไม่ก็ไม่มีข้อสรุปว่าสิ่งไหนถูกผิด เนื่องจากทุกสิ่งถูกการมองโดยโลกของภาษา ซึ่งมีลูกเล่นแพรวพราวทั้งตัวภาษาเองและตัวผู้ใช้ภาษา พวกเขาจึงสนใจที่จะศึกษาเรื่องของภาษา วาทกรรม ตัวบท ซึ่งมีนักคิดคนสำคัญคือ
Jacques Derrida เกิด ในอัลจีเรียเขาเสนอวิธีการ deconstruct คือการแสดงให้เห็นว่าเราสามรถถอดรื้อความเห็น ของทฤษฎีหรือวาทกรมใด ๆ ก็ได้ เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงจุดหละหลวมของมัน ซึ่งภาษานั้นก็สามารถที่จะสร้างความหมายลื่นไหลไปได้เรื่อยๆ เขาจริงถือเป็นภารกิจของเขที่จะถอดรื้อระบบความคิดที่อ้างตัวเองเป็นตัวแทน ของความจริง
Michel Foucault เขามุ่งถอดรื้อความคิด ทฤษฎี วาทกรรมที่อ้างตนเองว่าเป็นความรู้ที่เป็นกลางเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เช่น ความรู้ทางการแพทย์ ทางสังคม ทางจิตวิทยา ฯลฯ เขาถอดรื้อให้เห็นว่าความรู้จำนวนมาก รวมทั้งสถาบันต่างๆ ได้ถูสร้างขึ้นมาอย่างมีเงื่อนไขเพื่อปกปิดอำพรางบางอย่าง โดยเฉพาะประโยชน์ทางอำนาจ เพื่อปิดกั้นความรู้และความจริงอื่น ๆ อันเป็นการกดดัน บีบบังคับ บิดเบือน ละเลย หลงลืม อำนาจ หรือการดำรงอยู่ของส่วนอื่น ๆ เช่น ละเลยความสำคัญของจิตใต้สำนึกของร่างกายของคนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆ เช่น เกย์ เลสเบี้ยน เป็นต้น
Jacques Lacan (ค.ศ. 1901-1981) งาน ของเขาชี้ให้เห็นว่าภาษากำหนดรูปร่างความเป็นไปของจิตใต้สำนึก อารมณ์ปรารถนาของเราตั้งแต่ยังเป็นทารก โลกของภาษาคือโลกของสัญลักษณ์ อำนาจ การครอบงำตั้งแต่วัยทารกจึงทำให้อัต ลักษณ์ของเราแยกจากภาษาไม่ออก
Post Modern วิพากษ์สังคมตะวันตก ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ประเด็นแรก โลก โดมเดิร์นไม่ได้นำไปสู่ความเป็นเหตุเป็นผล ความก้าวหน้า หรือความสงบสุขของมนุษย์ แต่มีหลายช่วงที่นำไปสู่ความรุนแรง เช่น สงครามโลก และการฆ่าล้างเผ่าพันต่างๆ
ประเด็นที่สอง ระบบการ เมืองของสังคมโมเดิร์นของตะวันตกไม่ได้สะท้อนการกระจายอำนาจที่ดีเพียงพอ พวกเจาจึงเสนอให้มีการกระจายอำนาจสู่ชุมชน อำนาจของประชาสังคม อำนาจของภาคพลเมืองเพิ่มเวทีหรือพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ทางการเมืองให้คน ด้อยสิทธิต่าง ๆ
ประเด็นที่สาม สถาบันระบบคุณธรรมของตะวันตก ยังมีคนบีบบังคับ กดดัน บีบคั้น ผู้ด้อยกว่า เช่น แรงงานอพยพต่างๆ คนกลุ่มน้อย และยังมีการกระทำแบบเดียวกันต่อประเทศอื่นๆ ด้วย
ประเด็นที่สี่ องค์ ความรู้ของตะวันตกที่สร้างมาในยุคโมเดิร์นมีส่วนสร้างรับใช้และสถาบันทางการ เมือง สังคม ศีลธรรม คุก โรงพยาบาล ซึ่งยังมีส่วนในการปิดกั้นและกีดกันผู้ด้อยโอกาสในสิทธิอำนาจตามประเด็นที่ สาม
Post modern มองว่า ถึงแม้ว่าอดีตประเทศอาณานิคมจะได้รับเอกราชมานานแล้วแต่ก็ยังมีความคิดที่ เป็นอาณานิคมคือคล้อยตามระบบความคิดที่เป็น modernization ที่นิยมชื่นชมความคิด ค่านิยม ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นองค์ความรู้ที่เป็นตะวันตกเป็นอย่างมาก
Post modern มองว่าองค์ความรู้ตั้งแต่ปรัชญา จริยธรรม การเมือง การปกครอง วรรณกรรมคลาสสิค ฯลฯ ทั้งหมดเป็นเพียงเพื่อสร้างภาพสร้างตัวตนที่ดีงามมีเหตุผลให้ตะวันตก ซึ่งสิ่งเหล่านั้นไปกดทับ เพิกเฉย ละเลย ลืมประวัติศาสตร์ของตัวตน การดำรงอยู่ของวัฒนธรรมของผู้อื่นหรือคนอื่นเป็นการยกย่องประวัติศาสตร์และ ให้คุณค่าในเรื่องของตนเองและลดคุณค่าในเรื่องที่เป็นของผู้อื่น ซึ่งเป็นวิธีการคิดแบบแยบยล
ลักษณะศิลปะ Post modern
1.    การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง
2.    การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน
3.    Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม
4.    Post modern ปฏิเสธจุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไป จากบริบทอย่างสิ้นเชิง
ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และ การตั้งคำถามที่มีต่อโลกแบบโมเดิร์นของตะวันตก ซึ่งมองว่าการสร้างสังคมสมัยใหม่ของโลกตะวันตกที่ได้กำเนินมานั้นไม่ได้ พัฒนาความสุข การหลุดพ้น หรือชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกัน เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมผ่านภาษา เพียงเพื่อครอบงำสังคมอื่นเพื่อชิงความได้เปรียบในหลายปัจจัย
อ้างอิง
ธีรยุทธ บุญมี, โลก โมเดิร์น โพสต์ โมเดิร์น . วิญญูชน.พิมพ์ครั้งที่ 4.กรุงเทพฯ : 2550